ที่ยากขึ้นไปอีกและทำให้นักเรียนสับสนและตอบผิดรูปแบบไปอีก ก็คือ บางครั้งโจทย์ประเภทนี้จะขึ้นต้นด้วยโจทย์ที่มีลักษณะเหมือนประเภท Discussion หรือ Argument ก่อนแล้วจะเพิ่มประโยคคำถามไว้เพิ่มเติมอีก 1-2 คำถามตามมา เช่น
Some people think that universities should provide graduates with the knowledge and skills needed in the workplace. Others think that a true function of a university should be to give access to knowledge for its own sake, regardless of whether the course is useful to an employers.
What, in your opinion, should be the main function of a university?
จากตัวอย่างโจทย์นี้จะเห็นว่า Background Information มีลักษณะคล้ายกับโจทย์ Discussion แต่ประโยคคำถามไม่ได้ถามแบบ Discussion
วิธีการตอบที่ถูกต้องคือ ให้ตอบคำถามสุดท้ายและให้เหตุผลสนับสนุนพร้อมยกตัวอย่างประกอบ เกี่ยวกับ หน้าที่หลักของมหาวิทยาลัยในความคิดของเรา เพราะฉะนั้นเราต้องหาเหตุผลที่ชัดเจนและตัวอย่างประกอบลงไปในBody Paragraph ทั้งหมด และสรุปใจความตามคำถามสุดท้าย ไม่ต้องมีการเขียนถึงเหตุทั้ง 2 ฝั่งเหมือนอย่างใน Discussion
ปัญหาที่ 2 ของการเสียคะแนนง่ายๆและสูญเสียเวลาไปอย่างมากในการเขียน IELTS Writing Task II คือ การใช้เวลาในการทำในส่วน Introduction นานเกินไป นักเรียนส่วนใหญ่จะพยายามคิดเนื้อหาและรูปประโยคใหม่เกือบทั้งหมดเพื่อสร้างบทนำ(Introduction) และคิดว่าการ Paraphrase ให้ในส่วนบทนำทั้งหมดจะช่วยทำให้ได้คะแนนสูงขึ้น ซึ่งก็จริงถ้ามีความสามารถทำได้ในเวลาที่จำกัด แต่ถ้ายังไม่ได้มีความสามารถขนาดนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ประโยคบทนำที่คิดขึ้นมาใหม่นั้นส่งผลเสีย 2 ข้อ คือ
1. ทำให้เสียเวลาไปมากเกินไป
2. ความหมายผิดเพี้ยนไปจากความต้องการของโจทย์ในแบบนั้นๆ
ที่จริงแล้วมีหลักการเขียนบทนำที่ง่ายและใช้เวลาน้อยกว่ามาก ซึ่งเป็นวิธีการที่จะทำให้บทนำของเรานั้นเข้าใจได้ง่าย ตรงประเด็นที่โจทย์ต้องการ ความหมายไม่ผิดเพี้ยน และที่สำคัญที่สุดคือได้คะแนนแน่ๆ (หลักการนี้เป็นหลักการที่เราใช้สอนเด็กนักเรียนของเราให้ประสบความสำเร็จในการเพิ่มคะแนน Writing มาแล้วมากมาย) เป็นวิธีการที่ช่วยประหยัดเวลาและลดความผิดพลาดได้อย่างมาก
หลักการในการ Paraphrasing Introduction มีอยู่ด้วยการ 4 ข้อ ดังนี้
1.) เปลี่ยน Vocab โดยใช้ Synonym ที่เป็น academic English
2.) เปลี่ยน Tenses ในหลายๆสถานการณ์เราสามารถเปลี่ยน tenses ยกตัวอย่างเช่น เราสามารถเปลี่ยน Present Continueous Tense ในโจทย์ให้เป็น Present Perfect Continueous Tense ได้ หรือเปลี่ยน Present Tense เป็น Present Contineous Tense ได้
3.) เปลี่ยน Article จาก Singular Form เป็น Plural Form โดยการเติม s และตัด a an the ทิ้งในคำนามที่นับได้ หรือในทางกลับกัน ถ้าเจอคำนามนับได้ที่เป็นพหูพจน์ คือ เติม s อยู่ ก็ให้เปลี่ยนเป็น Singular Form โดยการตัด s ทิ้ง แล้วเติม a an the แทน หรือใช้ Pronoun แสดงจำนวนที่ตามด้วยคำนามเอกพจน์เสมอ เช่น each every หรือ any นำหน้าคำนามนั้นแทนก็ได้
4.) เปลี่ยนรูปประโยค Active เป็น Passive หรือเปลี่ยน Passive เป็น Active แต่ต้องพยายามหาประธานที่ถูกต้องให้เจอ บางครั้งในโจทย์อาจพูดลอยๆโดยไม่มีประธาน ซึ่งส่วนใหญ่เราสามารถใช้คำว่า People เป็นประธานได้